Q & Contact
FAQS!
สงสัยอะไร ถามคิวมินซีได้เลย!
ขมิ้นชัน (ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L.) เป็นพืชสมุนไพรตระกูลราก อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae และมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของเอเชียใต้ เคอร์คิวมิน (curcumin) เป็นสารประกอบฟีนอลิกที่เป็นเม็ดสีสีเหลืองสกัดได้จากขมิ้นชัน จึงเป็นสารพฤกษเคมี (phytochemical) จากธรรมชาติ1
ข้อมูลอ้างอิง:
N. Acharya, J. Roy. University of north dakota. Is Turmeric consumption good for health? Organic chemistry I. (2015)
มีงานวิจัยและการทดลองทางวิทยาศาสตร์และทางคลินิกทั่วโลกมากมายถึง 12,595 ฉบับ (ระหว่างปี 1924 – 2018)1 ได้พิสูจน์แล้วว่า เคอร์คิวมินมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อทานเป็นประจำ เนื่องจากมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาสำคัญหลายประการ เช่น ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน2 ปกป้องตับขับสารพิษออกจากร่างกาย3 ต้านไวรัส แบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น1,4,5,6 จนได้สมญานามว่า “Wonder Drug of Life” และ “Cure-Cumin”5
ข้อมูลอ้างอิง:
A. Giordano and G. Tommonaro. Curcumin and Cancer Review. Nutrients 11, 2376 (2019).
N. Acharya, J. Roy. University of north dakota. Is Turmeric consumption good for health? Organic chemistry I. (2015)
M. H. Farzaei , M. Zobeiri, F. Parvizi, and et al. Curcumin in Liver Diseases: A Systematic Review of the Cellular Mechanisms of Oxidative Stress and Clinical Perspective. Nutrients 10, 855 (2018).
E. Haya, A. Lucariellob, M. Contieria, T. Espositoc, and et al, Therapeutic effects of turmeric in several diseases: An overview. Chemico-Biological Interactions, Volume 310 (2019).
D. Praditya, L. Kirchhoff, J. Brüning, H. Rachmawati, J. Steinmann, and E. Steinmann. Anti-infective Properties of the Golden Spice Curcumin. Frontiers in Microbiology, 3 (2019).
Prasad S, Aggarwal BB. Turmeric, the Golden Spice: From Traditional Medicine to Modern Medicine. In: Benzie IFF, Wachtel-Galor S, editors. Herbal Medicine: Biomolecular and Clinical Aspects. 2nd edition. Boca Raton (FL). CRC Press/Taylor & Francis (2011).
คิวมินซีไม่มีสารกันบูด หรือวัตถุกันเสียใดๆเจือปน เหมาะกับผู้ที่ดูแลรักษาสุขภาพอย่างแท้จริง มีงานวิจัยระดับนานาชาติ พบว่าสารกันบูดอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้1,2 ผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยง
ข้อมูลอ้างอิง:
F. Ibolya, P. Anca, K. A. Mária, and C. MD. Benzene Determination in Soft Drinks. Acta Medica Marisiensis 58(5), 297-299(2012).
F. Javanmardi, J. Rahmani, F. Ghiasi and et al. The Association between the Preservative Agents in Foods and the Risk of Breast Cancer. Nutrition and Cancer. 4, 1229-1240(2019).
แนะนำให้ทานตั้งแต่อายุ 6 ขวบขึ้นไป เป็นอายุที่มีการกำหนดปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทย (Thai RDI) โดยขมิ้นชันสกัดไม่มีรายงานว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทั้งยังเป็นส่วนประกอบอาหารและยาในตำรับอายุรเวทมากว่า 5,000 ปีแล้ว1
ข้อมูลอ้างอิง:
D. Mathew, W.-L. Hsu. Antiviral potential of curcumin. Journal of Functional Foods 40, 692–699(2018).
เคอร์คิวมินเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สมุนไพรธรรมชาติที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก มีบทความเกี่ยวกับเคอร์คิวมินและโรคมะเร็ง 4,738 ฉบับ (ระหว่างปี 1983 – 2018) พบว่ามีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาด้านการยับยั้งการเจริญเติบโตและต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ชักนำกระบวนการอะพอพโทซิสของเซลล์ (Apoptosis) ต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่ (Angiogenesis)1
ข้อมูลอ้างอิง:
A. Giordano and G. Tommonaro. Curcumin and Cancer Review. Nutrients 11, 2376 (2019).
ดื่มได้ มีงานวิจัยระดับนานาชาติระบุว่า เคอร์คิวมินมีคุณสมบัติที่ช่วยปกป้องและรักษาตับ กำจัดสารพิษ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชันผ่านกลไกระดับเซลล์และระดับโมเลกุลอย่างเห็นได้ชัด จากภาวะเครียดออกซิเดชัน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญของความเสียหายต่อตับที่เกิดจากสารชนิดต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ ยา การติดเชื้อไวรัส มลพิษในสิ่งแวดล้อม และส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งส่งผลให้เกิดการลุกลามของการบาดเจ็บของตับ ภาวะไขมันพอกตับที่มีภาวะตับอักเสบและไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ พังผืดในตับ และตับแข็ง1 อีกทั้งเคอร์คิวมิน มีความเป็นพิษต่ำ มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และความหลากหลายทางเคมี และไม่มีความเสี่ยงเป็นอันตรายเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ได้จากการสังเคราะห์
ข้อมูลอ้างอิง:
M. H. Farzaei , M. Zobeiri, F. Parvizi, and et al. Curcumin in Liver Diseases: A Systematic Review of the Cellular Mechanisms of Oxidative Stress and Clinical Perspective. Nutrients 10, 855 (2018).
เคอร์คิวมิน (Curcumin) หรือขมิ้นชันสกัด เป็นสารประกอบพอลิฟีนอลิกจากธรรมชาติ1 มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มีแอล-กลูตาไธโอน ทีเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระสำคัญในร่างกายมนุษย์2 และวิตามินซี ที่เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidants) มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวพรรณสวยสดใส ช่วยดีท็อกสารพิษ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมคอลลาเจน จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุภาพผิวพรรณให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นกับสภาพร่างกายแต่ละบุคคล
ข้อมูลอ้างอิง:
E. Haya, A. Lucariellob, M. Contieria, T. Espositoc, and et al, Therapeutic effects of turmeric in several diseases: An overview. Chemico-Biological Interactions, Volume 310 (2019).
N. Acharya, J. Roy. University of north dakota. Is Turmeric consumption good for health? Organic chemistry I. (2015)
มีงานวิจัยตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นทดสอบกับอาสาสมัครที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณเคอร์คิวมิน 30 มก. เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับตัวอย่างหลอก (placebo) หลังจากได้รับแอลกอฮอล์ปริมาณ 0.5 มก./กก (ประมาณเบียร์ 2 กระป๋อง) จากนั้นทำการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด (blood-ethanol level) ปริมาณแอลดีไฮด์ในเลือด (blood-aldehyde level) ที่เวลาผ่านไป 30, 60, 180 และ 240 นาที พบว่า อาสาสมัครที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีเคอร์คิวมิน 30 มก. มีปริมาณแอลกอฮอล์ และแอลดีไฮด์ลดลงต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับตัวอย่างหลอกทุกช่วงเวลา นอกจากนี้ยังไม่พบว่าอาสาสมัครมีอาการปวดหัว หรืออาการแฮงค์ จากการดื่มแอลกอฮอล์ และพบว่าช่วยให้อาสาสมัครรู้สึกสดชื่นกระชุ่มกระชวย (Feeling Cheerful) โดยไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ (side effect) จากการดื่มเครื่องดื่มเคอร์คิวมิน 1
ข้อมูลอ้างอิง:
T. Hamano, M. Nishi, T. Itoh, S. Ebihara and Y. Watanabe. The effect of beverage containing Curcuma longa L. extract on the alcohol metabolism of healthy volunteers. Department of pharmacology/pharmacotherapy, Nihon Pharmaceutical University, Japan. Pharmacometrics 72(1/2) 31-38 (2007).
เครื่องดื่มคิวมินซีประกอบด้วยขมิ้นชันสกัด Curcuma longa (L.) ที่มีเคอร์คิวมินอนุภาคเล็กระดับนาโนไลโปโซม1 ด้วยนวัตกรรมการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการละลาย การดูดซึม (Bioavailability)2 และระยะเวลาที่อยู่ในร่างกายมากกว่าขมิ้นชันผงทั่วไปหลายเท่า3 และคิวมินซี อยู่ในรูปแบบเครื่องดื่มพร้อมรับประทาน ยิ่งแช่เย็นจะช่วยเพิ่มความอร่อย ทำให้รู้สดชื่น ผ่อนคลาย กระปี้กระเปร่า ดื่มได้ทุกวัน
ข้อมูลอ้างอิง:
Marczylo, T.H., Verschoyle, R.D., Cooke, D.N. and et al. Comparison of systemic availability of curcumin with that of curcumin formulated with phosphatidylcholine. Cancer Chemother. Pharmacol. 60, 171-177(2007).
J. Shi, H. Deng and M. Zhang. Curcumin pretreatment protects against PM2.5‑induced oxidized low‑density lipoprotein‑mediated oxidative stress and inflammation in human microvascular endothelial cells. Molecular medicine reports 16: 2588-2594 (2017).
Bolger, G., Licollari, A., Tan, A., Greil and et al. Pharmacokinetics of liposomal curcumin (Lipocurc™) infusion: Effect of co-medication in cancer patients and comparison with healthy individuals. Cancer Chemother. Pharmacol. 83, 265-275(2019).
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ระดับนานาชาติพิสูจน์ชัดเจนแล้วว่าเคอร์คิวมินที่มีอนุภาคขนาดเล็ก (Nano formulation) จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติการละลาย การดูดซึม1,2 และส่งไปยังอวัยวะเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพในการรักษารวดเร็วขึ้น3
ข้อมูลอ้างอิง:
M. Gera, N. Sharma, M Ghosh, D. L. Huynh, S. J. Lee, T. Min, T. Kwon and D. K. Jeong. Nano formulations of curcumin: an emerging paradigm for improved remedial application. Oncotarget, Vol. 8, No. 39, 66680-66698 (2017).
M. H. Farzaei , M. Zobeiri, F. Parvizi, and et al. Curcumin in Liver Diseases: A Systematic Review of the Cellular Mechanisms of Oxidative Stress and Clinical Perspective. Nutrients 10, 855 (2018).
Marczylo, T.H., Verschoyle, R.D., Cooke, D.N. and et al. Comparison of systemic availability of curcumin with that of curcumin formulated with phosphatidylcholine. Cancer Chemother. Pharmacol. 60, 171-177(2007).
มีการศึกษาวิจัยมากมายเกี่ยวกับเคอร์คิวมินทั้งในสัตว์และในมนุษย์ ซึ่งไม่พบความเป็นพิษหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ และขมิ้นชันได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ US-FDA ว่าไม่มีความเป็นพิษ สามารถเติมลงในอาหารได้อย่างปลอดภัย (Generally Recognized As Safe, GRAS)1,2
ข้อมูลอ้างอิง:
D. Praditya, L. Kirchhoff, J. Brüning, H. Rachmawati, J. Steinmann, and E. Steinmann. Anti-infective Properties of the Golden Spice Curcumin. Frontiers in Microbiology, 3 (2019).
Prasad S, Aggarwal BB. Turmeric, the Golden Spice: From Traditional Medicine to Modern Medicine. In: Benzie IFF, Wachtel-Galor S, editors. Herbal Medicine: Biomolecular and Clinical Aspects. 2nd edition. Boca Raton (FL). CRC Press/Taylor & Francis (2011).