Skip to content

Q & Curcumin

Curcumin จากงานวิจัย

CURCUMIN

เคอร์คิวมินช่วยอะไรเราบ้าง

บำรุงตับ

READ MORE

บำรุงตับ

สารสกัดเคอร์คิวมินออกฤทธิ์โดยตรงต่อตับ ช่วยป้องกัน ตลอดจนลดความเป็นพิษภายในตับอันเกิดจากแอลกอฮอล์ การใช้ยารักษาโรค ภาวะไขมันพอกตับ และพังผืด เยียวยาว่องไวไร้สารตกค้าง

READ MORE

ต้านอนุมูลอิสระ

READ MORE

ต้านอนุมูลอิสระ

ขมิ้นชันมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง จึงช่วยหยุดยั้งวงจรการขยายตัวของเซลล์ร้าย ต้านทานทั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ไปจนถึงมะเร็งอีกหลายชนิด

READ MORE

ปกป้องหัวใจ ปอด ตับ จากฝุ่น PM 2.5

READ MORE

ปกป้องหัวใจ ปอด ตับ จากฝุ่น PM 2.5

แม้จะต้องเผชิญกับฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เป็นอันตรายต่อถุงลม ปอด หัวใจ และหลอดเลือด แต่สารสกัดเคอร์คิวมินก็พร้อมสู้ด้วยฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ยับยั้งการอักเสบของหลอดเลือดที่เป็นด่านหน้าปะทะกับฝุ่น

READ MORE

เสริมภูมิคุ้มกัน

READ MORE

เสริมภูมิคุ้มกัน

เมื่อมีภูมิคุ้มกันเชื้อโรคร้ายก็สบายใจไปกว่าครึ่ง ด้วยสารสกัดเคอร์คิวมินที่มีฤทธิ์ต้านทานเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรามากกว่าสิบชนิด ช่วยโลกรับมือกับโรคระบาดแม้ในไวรัสสายพันธุ์ดื้อยา ความหวังใหม่ของการรักษา Covid-19

READ MORE

บำรุงตับ

คุ้มครองศูนย์บัญชาการใหญ่ของร่างกาย

ตับเป็นอวัยวะภายในอันดับต้นๆ ที่คนมักละเลย ไม่ใส่ใจดูแลให้ดี ทั้งที่เป็นอวัยวะส่วนสำคัญ เปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการใหญ่ ช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นไร้ปัญหา แต่กว่าจะรู้ตัว โลกก็มีคนป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับมากถึง 1 ใน 10 เข้าไปแล้ว

เพราะเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาตับ กลุ่มนักวิจัยจำนวนหนึ่งจึงได้รวบรวมผลงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมามาเรียบเรียงเป็นงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ทำหน้าที่สำรวจความสามารถของสารสกัดเคอร์คิวมินในขมิ้นชันที่มีต่อการบำรุงรักษาตับ ในชื่องานวิจัยที่ว่า ‘Curcumin in Liver Diseases: A Systematic Review of the Cellular Mechanisms of Oxidative Stress and Clinical Perspective’

ผู้เสียสละเพื่อร่างกาย ลงท้ายด้วยความปวดตับ

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมอวัยวะทรงสามเหลี่ยมที่อยู่ด้านล่างกระบังลมชิ้นนี้จึงสำคัญนัก อธิบายโดยย่อก็คือเพราะตับทำงานครอบจักรวาลแบบเป็นทุกอย่างให้เธอแล้วภายใต้คอนเซปต์ เก็บ-สร้าง-เปลี่ยน-กำจัด

  • เก็บ-สะสมวิตามิน และพลังงานให้ร่างกายสามารถดึงมาใช้ได้ในยามจำเป็น​
  • สร้าง-โปรตีนที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะชนิดที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด สร้างเม็ดเลือดแดง และน้ำดี​
  • เปลี่ยน-โครงสร้างสารอาหารให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้
  • กำจัด-สารพิษอันตรายที่ร่างกายรับเข้ามา​

เพราะการทำงานอย่างหนัก ตลอดจนต้องเกี่ยวข้องกับสารชนิดต่างๆ ทำให้ตับต้องเผชิญกับโรคภัยต่างๆ อาทิ โรคตับอักเสบซึ่งเกิดจากยา แอลกอฮอล์ และไวรัส เมื่อบาดเจ็บนานกว่า 6 เดือนจะทำให้กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือการสะสมไขมันที่ผิดปกติในเซลล์ตับก็ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้ 

บำรุงตับ

เคอร์คิวมิน ปกป้องศูนย์บัญชาการ ต้านออกซิเดชัน (ANTIOXIDANT)​

ภาวะผิดปกติตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตับ ล้วนเกิดขึ้นจากภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) เพราะการเปลี่ยนแปลงของไขมัน โปรตีน และดีเอ็นเอ ทำให้สารอนุมูลอิสระสามารถเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ของเซลล์ ทำให้เซลล์ตับเข้าสู่กระบวนการอะพอพโทซิส (Apoptosis) หรือการทำลายตัวเอง ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้

สารเคอร์คิวมินที่พบได้ในขมิ้นชันเป็นกุญแจสำคัญสำหรับหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตับ ด้วยคุณสมบัติต้านออกซิเดชัน (Antioxidant) จึงสามารถกำจัดตัวอันตรายอย่างอนุมูลอิสระ และปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์จากความเสียหายดังกล่าวได้ จากงานวิจัยหลักชิ้นนี้ที่ทำการสำรวจ และวิเคราะห์การทดลองกว่า 65 ชิ้น พบว่านี่คือความสามารถของเคอร์คิวมินที่มีต่อตับ

  1. ลดภาวะไขมันพอกตับ การเกิดพังผืด การบาดเจ็บของเซลล์ ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NASH)
  2. ปกป้องตับจากความเสียหายอันเนื่องมาจากการดื่มแอลกอฮอล์แบบเรื้อรัง ยับยั้งภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ตับอักเสบ ตลอดจนโรคตับแข็งระยะลุกลามที่เกิดจากแอลกอฮอล์
  3. ลดการสะสมคอลลาเจนในตับที่มากเกินไป อันจะนำมาสู่การเกิดพังผืด ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโรคตับแข็งได้ในภายหลัง
  4. ป้องกันอาการบาดเจ็บของตับจากตัวแปรต่างๆ อาทิ สารแปลกปลอมในปลา หรือการรับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย
  5. ปกป้อง และฟื้นฟูเซลล์ตับจากสารพิษตกค้างในยา ในโลกนี้มียามากกว่า 1,000 ชนิดที่ก่อให้เกิดพิษในตับ รวมไปถึงยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบที่เรากินกันเป็นประจำ
  6. ป้องกันตับไม่ให้เกิดพังผืดจนนำไปสู่โรคมะเร็งตับ จากตัวการสำคัญที่คนไทยต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างฝุ่น PM 2.5 เนื่องจากฝุ่นบางส่วนมีที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม และท่อไอเสียรถยนต์จึงปนเปื้อนไปด้วยปรอท แคดเมียม และสารอันตรายอื่นๆ

จากงานวิจัยข้างต้น พอจะบอกได้ว่าการดูแลตับเป็นภารกิจที่สำคัญ อย่างไรก็ดี ท่ามกลางงานวิจัยเหล่านี้มีข้อพึงสังเกตที่ทางผู้วิจัยได้เขียนแนบท้ายไว้คือ สารสกัดเคอร์คิวมินสามารถดูดซึม ตลอดจนกระจายตัวในลำไส้ ตับ ไต และหัวใจในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการใช้ขมิ้นชันโดยหวังผลทางเภสัชกรรมจึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ของร่างกาย 

อ้างอิง

งานวิจัย ‘Curcumin in Liver Diseases: A Systematic Review of the Cellular Mechanisms of Oxidative Stress and Clinical Perspective’ โดย Mohammad Hosein Farzaei, Mahdi Zobeiri, Fatemeh Parvizi, Fardous F El-Senduny, Ilias Marmouzi, Ericsson Coy-Barrera, Rozita Naseri, Seyed Mohammad Nabavi, Roja Rahimi และ Mohammad Abdollahi

ปกป้องหัวใจ ปอด ตับ จากฝุ่น PM 2.5

ไม่เกรงควัน ไม่กลัวฝุ่น

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการกำหนดค่าเฉลี่ยรายปีของ PM 2.5 เอาไว้ว่าไม่ควรจะเกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ในหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยกลับทำสถิติพาตัวเลขค่าเฉลี่ยไปแตะถึง 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่อันตรายต่อสุขภาวะของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง 

ความน่ากลัวของเจ้าฝุ่นจิ๋วที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออวัยวะภายในอย่างถุงลม ปอด หัวใจ และหลอดเลือด สามารถทำลายอวัยวะในระบบทางเดินหายใจได้โดยตรง ทั้งยังทำให้อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรลดลง 

ในงานวิจัย ‘Curcumin pretreatment protects against PM2.5‐induced oxidized low‐density lipoprotein‐mediated oxidative stress and inflammation in human microvascular endothelial cells’ จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดเคอร์คิวมินในขมิ้นชันช่วยต้านออกซิเดชันได้

ปกป้องหัวใจ ปอด ตับ จากฝุ่น PM 2.5

ฮีโร่ต้านออกซิเดชัน (ANTIOXIDANT)

งานวิจัยชิ้นดังกล่าวที่จัดทำขึ้นโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากประเทศจีน ได้นำตัวอย่างสารสกัดเคอร์คิวมินจากขมิ้นชันไปทดสอบกับ PM 2.5 ด้วยวิธีปั่นเหวี่ยงภายใต้การควบคุมความเร็ว และอุณหภูมิ ก่อนจะพบว่าเคอร์คิวมินซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านออกซิเดชัน (Antioxidant) หรือสารที่มีหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้งการอักเสบของหลอดเลือด ลดอิทธิพลการโจมตีของ PM 2.5 ได้ ทำให้ผลข้างเคียงจากการหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกายไม่ร้ายแรงเท่าที่ควร ทั้งยังช่วยปกป้องเส้นเลือดหัวใจ และปอดจากการถูกทำร้ายได้ในระยะยาว

แม้ในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาใส่ใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่การเติบโตของอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการบริโภคของผู้คนก็ทำให้เรารู้ว่าปัญหามลภาวะอย่างฝุ่นละออง PM 2.5 ไม่อาจถูกจัดการให้หมดไปโดยง่าย สิ่งที่เราสามารถลงมือทำได้โดยไม่ต้องรอก็คือการปกป้องตัวเองให้ดี ทั้งจากภายนอกและภายใน

อ้างอิง

งานวิจัย ‘Curcumin pretreatment protects against PM2.5‐induced oxidized low‐density lipoprotein‐mediated oxidative stress and inflammation in human microvascular endothelial cells โดย Jun Shi, Huiping Deng และ Min Zhang’

ต้านอนุมูลอิสระ

ต่อต้านการก่อการร้ายของเหล่าเซลล์

จากการสำรวจของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2537 – 2560 ที่ผ่านมาพบว่า โรคที่เป็นเหมือนผู้ก่อการร้ายคร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือโรคในกลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด เมื่อเทียบกับในปี 2537 แล้วจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่พบในปี 2560 นั้นมากกว่าเดิมเกือบ 3 เท่า ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี 

จากงานวิจัย ‘Therapeutic effects of turmeric in several diseases: An overview’ ที่จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาคุณสมบัติของขมิ้นชันต่อการรักษา และป้องกันโรคต่างๆ นั้น ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสารประกอบเคอร์คิวมินในขมิ้นชันที่มีต่อเซลล์มะเร็ง 

ต้านอนุมูลอิสระ

โภชนเภสัชชื่อ เคอร์คิวมิน

ขมิ้นชันเป็นพืชที่มีความเป็น ‘โภชนเภสัช’ ซึ่งเป็นการรวมกันของสองคำคือ โภชนาการ (Nutrition) และเภสัชกรรม (Pharmaceutical) แปลตรงตัวก็คือเป็นอาหารที่มีสรรพคุณด้านการรักษาโรคด้วย โดยสารประกอบเคอร์คิวมิน ช่วยต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ต้านจุลินทรีย์ บำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด และเป็นความหวังในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง

เพราะมะเร็งคือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งเจ้าเซลล์เหล่านี้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างด้วยการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ หรือกระจายตัวไปทั่วร่างกาย ทำให้การรักษาจากภายนอกเป็นเรื่องยาก  แต่เคอร์คิวมินช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์เหล่านั้น และทำให้เกิดกระบวนการอะพอพโทซิส (Apoptosis) ทำให้เซลล์แก่ และกำจัดตัวเองทิ้งไปในที่สุด

ต้านอนุมูลอิสระ

งานวิจัยกลุ่มโรคมะเร็ง

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรคในกลุ่มโรคมะเร็งด้วยสารสกัดเคอร์คิวมิน ก่อนจะพบว่าเคอร์คิวมินได้ประกาศสงครามกับมะเร็งตัวร้ายเอาไว้หลายชนิดมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • มะเร็งรังไข่
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งผิวหนัง
  • มะเร็งมดลูก
  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์
  • มะเร็งตับอ่อน
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งหลอดอาหาร
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • มะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา

อ้างอิง

งานวิจัย ‘Therapeutic effects of turmeric in several diseases: An overview’ โดย Eleonora Hay, Angela Lucariello, Marcella Contieri, Teresa Esposito, Antonio De Luca, Germano Guerra และ Angelica Perna

งานวิจัย ‘Is Tumaric consumption good for health’ โดย Nikesh Acharya

เสริมภูมิคุ้มกัน

เสริมภูมิร่างกาย ให้เชื้อโรคร้ายยกธงขาว

อัตราของคนที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อทั่วโลกสูงถึง 1 ใน 4 การวิจัยเพื่อทดลองคิดค้นยาต้านเชื้อโรคชนิดต่างๆ จึงนับได้ว่าเป็นงานที่ท้าทายของแวดวงวิทยาศาสตร์ และยังมีเชื้อโรคอีกมากมายยังไม่สามารถคิดค้นยารักษาได้  นักวิจัยจึงหันมาให้ความสนใจกับสารประกอบทางธรรมชาติที่มีคุณสมบัติต้านการติดเชื้อมากขึ้น งานวิจัย ‘Anti-infective Properties of the Golden Spice Curcumin’ ชิ้นนี้ ได้สำรวจถึงประสิทธิภาพของเคอร์คิวมินในขมิ้นชันต่อการต้านเชื้อโรค ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย

เสริมภูมิคุ้มกัน

ไวรัส

ไวรัสเป็นคำที่มาจากภาษาละติน แปลว่า ‘พิษ’ เพราะฉะนั้นเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายก็จะมีฤทธิ์ทำให้เราเกิดอาการเจ็บป่วย ด้วยการบังคับให้เซลล์ของเราหยุดทำงานอย่างที่เคยทำแล้วหันมาสร้างโปรตีนให้มันแทน โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) ขึ้นมาต้านทานไวรัสบางชนิดได้ แต่กับไวรัสตัวอันตรายอีกหลายตัว ภูมิฯ ที่มีก็ไม่เก๋าพอจะสู้จนต้องหันไปพึ่งยารักษาหรือวัคซีนแทน

จากงานวิจัย เคอร์คิวมินสามารถต้านไวรัสได้มากถึง 13 ชนิด โดยมีตัวเด่นๆ ที่น่าสนใจได้แก่

ไวรัสเอชไอวี (HIV)

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) โดยเคอร์คิวมินจะเข้าไปจัดการกับโปรตีนของไวรัสชนิดนี้โดยตรง และช่วยลดอาการที่เกิดจากโรคเอดส์ อย่างการอับเสบ หรือมะเร็งในทางอ้อม

ไวรัสเอชพีวี (HPV)

ต้นเหตุของมะเร็งต่างๆ อาทิ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก ฯลฯ

ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (IAV)

ซึ่งระบาดในสัตว์ปีก แต่ก็พบการติดเชื้อในคนเช่นเดียวกัน

ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) และ ไวรัสตับเอกเสบซี (HCV)

สาเหตุหลักของโรคตับเรื้อรัง

ไวรัสอาร์เอสวี (RSV)

ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจที่อันตรายเป็นพิเศษกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

เสริมภูมิคุ้มกัน

เชื้อรา

โดยทั่วไปแล้วเชื้อราเป็นเชื้อโรคประเภทที่แพร่กระจายในมนุษย์ไม่มากนัก อาจทำได้ตั้งแต่สร้างความรำคาญให้กับผิวหนังอย่างโรคกลาก ไปจนถึงแพร่กระจายในระบบเลือด ปอด และอวัยวะภายในจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะมีการวิจัยยาเพื่อต้านเชื้อราอย่างต่อเนื่อง แต่การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง และการดื้อยา จึงเป็นที่น่าสนใจเมื่อพบว่า สารสกัดเคอร์คิวมินมีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตสารพิษของเชื้อรา ทำให้เชื้อราไม่อาจเจริญเติบโตต่อได้ โดยมีกลุ่มเชื้อราตัวเด่นๆ ดังนี้

CANDIDA SPP.

เชื้อตัวที่พบได้ทั่วไปบนผิวหนัง และเยื่อบุทางเดินอาหาร พบได้บ่อยในคนที่ร่างกายอ่อนแอ มักไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่มีโอกาสที่จะแพร่เข้าสู่อวัยวะภายใน

CRYPTOCOCCUS SPP.

เชื้อที่พบได้ในดิน และขี้นก มีเป้าหมายโจมตีหลักในคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาทิ ผู้ป่วยโรคเอดส์

เสริมภูมิคุ้มกัน

แบคทีเรีย

แม้แบคทีเรียส่วนใหญ่จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่ก็มีแบคทีเรียบางส่วนที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วกลับโจมตีทำลายเนื้อเยื่อภายใน เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วย  แม้ในปัจจุบันจะมีการคิดค้นยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคตัวร้ายนี้ แต่ผลข้างเคียงที่ตามมาก็คือการดื้อยา 

ข่าวดีก็คือนอกจากนักวิจัยจะพบว่าสารสกัดเคอร์คิวมินมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบที่พบได้บ่อยหลายตัวแล้ว เคอร์คิวมินยังช่วยต้านแบคทีเรียดื้อยาถึง 4 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 12 สายพันธุ์ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ค้นหายารักษาใหม่ในปี 2017 โดยเชื้อแบคทีเรียตัวที่น่าสนใจในงานวิจัยชิ้นนี้ได้แก่

  • สตาฟิโลคอคคัส (Staphylococcus)

แบคทีเรียก่อโรคในอาหารที่ทำให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ เป็น 1 ใน 4 ของเชื้อโรคดื้อยา ทั้งยังเป็นสาเหตุสําคัญของการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดทั่วโลก

  • สเตรปโทคอกคัส (Streptococcus)

สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคปอดบวม และ โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

  • เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli)

หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ E. Coli พบได้ในลำไส้ ปกติไม่อันตราย แต่บางสายพันธุ์ก็อาจผลิตพิษที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง หรือติดเชื้อได้

เสริมภูมิคุ้มกัน

งานวิจัยเกี่ยวกับ COVID-19

งานวิจัยสองชิ้นที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้คือ ‘Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) From Several Medicinal Plant Compounds by Molecular Docking Study’ และ ‘In silico study of various antiviral drugs, vitamins, and natural substances as potential binding compounds with SARS-CoV-2 main protease’ ชี้ว่า สารสกัดเคอร์คิวมินในขมิ้นชันนั้นได้รับเลือกให้เป็นสารประกอบที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในการยับยั้ง Covid-19 อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ยังต้องทำการทดลองต่อไปสำหรับ
การนำเคอร์คิวมินมาใช้รักษาในเชิงการแพทย์

อ้างอิง

งานวิจัย ‘Anti-infective Properties of the Golden Spice Curcumin’ โดย Dimas Praditya, Lisa Kirchhoff, Janina Brüning, Heni Rachmawati, Joerg Steinmann, Eike Steinmann

งานวิจัย ‘Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) From Several Medicinal Plant Compounds by Molecular Docking Study’ โดย Siti Khaerunnisa, Hendra Kurniawan, Hendra Kurniawan, Suhartati Suhartati, Soetjipto Soetjipto

งานวิจัย ‘In silico study of various antiviral drugs, vitamins, and natural substances as potential binding compounds with SARS-CoV-2 main protease’ โดย Michael Alabboud, Ali Javadmanesh