Skip to content

จากการสำรวจของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2537–2560 พบว่า โรคที่เป็นเหมือนผู้ก่อการร้าย (ในร่างกายเรา) คือโรคในกลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด

เมื่อเทียบกับในปี 2537 แล้ว จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่พบในปี 2560 นั้นมากกว่าเดิมเกือบ 3 เท่า ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี และขึ้นแท่นโรคอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทย

เหตุผลที่ทำให้เซลล์มะเร็งขึ้นชื่อว่าเป็นตัวร้ายที่รับมือยาก เป็นเพราะมะเร็งคือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในร่างกายเราเอง และสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ด้วยการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ หรือกระจายตัวไปทั่วร่างกาย ทำให้การรักษาจากภายนอกเป็นเรื่องยาก การจัดการกับโรคร้ายนี้ คือการยับยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์เหล่านั้น โดยทำให้เกิดกระบวนการอะพอพโทซิส (Apoptosis) หรือพูดง่ายๆ ว่าไปทำให้เซลล์แก่ และกำจัดตัวเองทิ้งไปในที่สุด

ข่าวดีคือ จากงานวิจัย ‘Therapeutic effects of turmeric in several diseases: An overview’ ที่ศึกษาคุณสมบัติของขมิ้นชันต่อการรักษาและป้องกันโรคต่างๆ พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า สารประกอบเคอร์คิวมินในขมิ้นชันสามารถป้องกัน และทำให้เกิดกระบวนการที่ว่ากับเซลล์มะเร็งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งผิวหนัง มะเร็งมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา

เจ้าขมิ้นชันของคู่ครัวที่เราคุ้นเคย จึงถูกยกย่องให้เป็นโภชนเภสัช หรืออาหารที่มีสรรพคุณด้านการรักษาโรค เพราะนอกจากสารประกอบเคอร์คิวมินจะช่วยต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ต้านจุลินทรีย์ บำบัดโรคได้หลายชนิด ยังเป็นความหวังในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง ด้วยการแฝงตัวเข้าไปเป็นสายลับ จัดการกับเซลล์มะเร็งร้ายได้ถึงที่!

อ้างอิง

งานวิจัย ‘Therapeutic effects of turmeric in several diseases: An overview’ โดย Eleonora Hay, Angela Lucariello, Marcella Contieri, Teresa Esposito, Antonio De Luca, Germano Guerra และ Angelica Perna และงานวิจัย ‘Is Tumaric consumption good for health’ โดย Nikesh Acharya